แผงไข่มะกรูดลดอาการชาปลายเท้าผู้สูงอายุเบาหวาน

ผลของการเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุ

ที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน

............................................................................................................................

ดร.ทักษิณาร์  ไกรราช  ปร..*  ดิษฐพล  ใจซื่อ พย.บ. **

ดร.นวลจันทร์  มาตยภูธร กศ..*** ชาลี  ศิริพิทักษ์ชัย  กศ.ม.****

วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

(เผยแพร่วารสารวิชาการการพยาบาลและการศึกษา เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554)

บทคัดย่อ       

 

              การวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน  และเพื่อเปรียบเทียบอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานก่อนและหลังการทดลอง  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เป็นผู้สูงอายุเบาหวานที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน  3  ตำบล  ในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  มีอาการชาปลายเท้า จำนวน  30  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่  แบบประเมินภาวะสุขภาพเท้า  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และเปรียบเทียบความแตกต่างอาการชาปลายเท้าก่อนและหลังทดลอง ด้วยสถิติ  Wilcoxon Signed Ranks Test

            จากการประเมินภาวะสุขภาพเท้ากลุ่มตัวอย่างด้วยการจำแนกความรู้สึกของปลายเท้าเป็น 4  ระดับ  ได้แก่  ความรู้สึกชาระดับ  1, 2, 3  และ  4  ก่อนการทดลองและหลังการทดลองทุกสัปดาห์  เป็นระยะเวลา  6  สัปดาห์  พบว่าก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกชาระดับ 1 ร้อยละ  16.66  ระดับ  2  และ 3 ร้อยละ  26.67และระดับ  4 ร้อยละ 30 หลังการทดลองพบว่า  กลุ่มตัวอย่าง  ร้อยละ  93.33 อาการชาปลายเท้าหายไป  ร้อยละ  9.67 ที่มีอาการชาปลายเท้าระดับ  4  ลดลงอยู่ในระดับ 2  และผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 1-6 พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

ความสำคัญ : มะกรูด  แผงไข่  อาการชาปลายเท้า  อาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน 

                       ผู้สูงอายุ

 

 

 

 

 

 

The effects of treading on Kaffir Limes in Egg Tray for healing the toe numb symptoms in  elderly with diabetic neuropathy

 

Dr.Thaksina Krairach*

Dittapol Jaisue**

Dr.Nualjan Matayaputorn***

Chalee Siripitakchai****

 

  Abstract

            This one-group quasi experimental research aimed to investigate the effects of Pang Kai Ma-grood (kaffir limes in egg tray) treatment to heal the toes numb symptom in elderly with diabetic neuropathy. Purposive sampling was used to select 30 elderly diabetes mellitus patients with neuropathy symptoms in Kae dam Hospital, Kae dam district, Mahasarakham province to the experimental group. The foot health assessment tool was used to collect data. The data were analyzed by using percentage, mean, and  Wilcoxon Signed Ranks Test.

            The participants treaded their feet on the kaffir limes in egg tray for 6 weeks and were assessed the toe numb symptom in every week. The toe numb symptom was classified into 4 levels which included level one, two, three, and four. The higher score, the greater of toe numbing. The results revealed that before treading on kaffir limes in egg tray, the participants had toe numb symptom level one for 16.66%, level two and three for 26.67% in each level, and level four for 30%. After treading their feet in the kaffir limes in egg tray, 93.33% of the participants feel free from toe numb symptom. Only 9.67% decreased the toe numb symptom from level four to level two. The toe numb symptom mean scores after treading had significantly different from the mean scores before trading their feet on the kaffir limes in egg tray (p < .05)

Key words:  Kaffir limes, egg tray , toe numb,  diabetic neuropathy,   elderly

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

            โรคเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากในผู้สูงอายุ  จากรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานของจังหวัดมหาสารคาม  ปี พ.. 2550  พบว่าโรคเบาหวานมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของประเภทของโรคเรื้อรังทั้งหมด  โดยมีจำนวนถึง  62,896 คน  เมื่อจำแนกเป็นกลุ่มอายุ  พบกลุ่มผู้สูงอายุมีจำนวนมากที่สุดถึง  21,640  คน  เมื่อจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นรายอำเภอ  พบมากที่สุดที่อำเภอเมือง    และเมื่อจำแนกอำเภอเป็นรายตำบลพบที่ตำบลเขวา  ตำบลแวงน่าง  ตำบลท่าสองคอน  ตามลำดับ

และพบผู้สูงอายุโรคเบาหวานจำนวนมากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า  200  mg%  และไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้   ตามมาด้วยมีอาการชาปลายมือ  ปลายเท้า  และในปี พ.. 2550พบผู้สูงอายุโรคเบาหวาน  100  ราย  มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต้องตัดอวัยวะส่วนปลาย  ได้แก่  นิ้วเท้า  เท้า  ขา ในที่สุด   (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2550) 

            การสูญเสียอวัยวะส่วนปลายนี้  เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  เลือดมีความหนืดและเข้มข้น  ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้น้อย  เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า  ความรู้สึกช้า  รับรู้ความร้อนความเย็นได้น้อยกว่าบุคคลทั่วไป  จึงเกิดแผลง่าย  และเมื่อเกิดแผล  แผลจะหายช้า  และเกิดแผลเรื้อรัง  จนในที่สุดต้องสูญเสียอวัยวะส่วนปลายไปอย่างน่าเสียดาย 

            จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานผู้วิจัยจึงดำเนินโครงการ “สานสามวัย : ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเบาหวานด้วยแนวทางแห่งวิถีพุทธ”  และได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  และสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย  ในปี พ.. 2552 ใช้เวลาดำเนินโครงการเวลา

1 ปี  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม  2552  ถึงเดือนมิถุนายน  2553 ในพื้นที่  3  ตำบล  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ได้แก่  ตำบลเขวา  ตำบลแวงน่างและตำบลท่าสองคอน  ซึ่งในการดำเนินโครงการดังกล่าว  ผู้วิจัยค้นพบว่ามีผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีอาการชาปลายเท้าเป็นจำนวนมาก 

            ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำแผงไข่มะกรูด  ซึ่งเป็นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม  ปี พ.. 2551  ที่นำวัตถุดิบที่หาง่ายในชุมชน  ถูก  ประหยัด  ด้วยการนำแผงไข่พลาสติกจำนวน 2  แผง  มาซ้อนกันแล้วนำผลมะกรูดจำนวน  30  ผล มาใส่ลงในช่องแผงไข่พลาสติก ให้บุคคลทั่วไปนั่งเก้าอี้โดยวางเท้าทั้งสองข้างเหยียบลงบนแผงไข่มะกรูด  กดลงน้ำหนักเหยียบสลับเท้าซ้ายขวาไปมาเพื่อนวดฝ่าเท้า  ผู้วิจัยทำการศึกษาค้นคว้าพบว่า  มะกรูดเป็นไม้ในวงศ์เดียวกับส้มและมะนาว  มีวิทยาศาสตร์หลายชื่อ เช่น Citrus  hystix DC.Bitter Orange, Leech Limeผลมะกรูดมีผิวเปลือกขรุขระมีปุ่มนูน  มีต่อมน้ำมันที่ให้กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย(essential oil) และมีจุกที่หัวของผลมะกรูดผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาทดลองผลของแผงไข่มะกรูดว่าสามารถลดอาการชาปลายเท้าผู้สูงอายุเบาหวานได้หรือไม่  จึงทำการทดลองร่วมในการดำเนินกิจกรรมในโครงการดังกล่าว

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. เพื่อศึกษาผลการเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน

  2. เพื่อเปรียบเทียบอาการชาปลายเท้าก่อนและหลังการเหยียบแผงไข่มะกรูดของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน

    สมมุติฐาน

                 อาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานลดลงหลังการเหยียบแผงไข่มะกรูด

    กรอบแนวคิดการวิจัย

     

     


วิธีดำเนินการวิจัย

 

 

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  แบบกลุ่มเดียววัดก่อน – หลัง(One  group

prepost test design)

          ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

            ประชากรคือผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่เข้าร่วมโครงการ “สาน 3  วัย : ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานด้วยแนวทางวิถีพุทธ”  ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  (สสส.) และ สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย  ในพื้นที่ 3  ตำบล  ได้แก่ ตำบลเขวา  ตำบลแวงน่าง  และตำบลท่าสองคอน  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม

              กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการ “สาน 3  วัย : ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโรคเบาหวานด้วยแนวทางวิถีพุทธ”  ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง  ดังนี้1.เป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ผ่านการตรวจสภาวะสุขภาพเท้า  ด้วย  Monofilament  พบว่ามีอาการชาปลายเท้า  อยู่ในระดับ  1- 4 และ 2. เป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ยินดีเข้าร่วมการทดลอง

            ก่อนการทดลอง  ผู้วิจัยทำการสอนและสาธิตการล้างเท้าอย่างถูกวิธีให้แก่ผู้ป่วยรายบุคคลและรายกลุ่ม  เพื่อให้ผู้ป่วยทำการล้างเท้าก่อนทำการทดลองเหยียบแผงไข่มะกรูดทุกครั้ง  พร้อมทั้งแจกกะละมังพลาสติกแช่เท้าคนละ  1  ใบ หลังจากนั้นสาธิตการนั่งบนเก้าอี้  ที่มีความสูง  50 เซนติเมตร  แล้วใช้เท้าวางเหยียบลงบนแผงไข่มะกรูด  แล้วสลับเท้าซ้ายขวากดลงไปมา  วันละ 2  ครั้ง  เช้า-เย็น  ครั้งละ 10  นาที พร้อมแจกแผงไข่พลาสติกจำนวน  2  แผง ให้ผู้ป่วยทุกคน  นำกลับไปทำการทดลองที่บ้าน  โดยมี  อสม. จับคู่  1 :  1  กับผู้ป่วย  คอยติดตามดูแลการเหยียบแผงไข่มะกรูดของผู้ป่วยที่บ้านทุกวันอย่างใกล้ชิด  และช่วยจัดหาผลมะกรูดให้กลุ่มตัวอย่างทุก 5  วัน  เพื่อทำการเปลี่ยนผลมะกรูดในการทดลอง

            ในขณะดำเนินการทดลอง  ผู้วิจัยได้นัดหมายกลุ่มตัวอย่าง  มาทำการตรวจภาวะสุขภาพเท้าทุกสัปดาห์  รวม  6  สัปดาห์  รวมจำนวน  6  ครั้ง  โดยมี อสม. ที่จับคู่ดูแลทำหน้าที่พากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมารับการตรวจภาวะสุขภาพเท้าด้วยเครื่องมือ  Monofilament  ที่จุดนัดพบทุกครั้ง  โดยตำบลเขวานัดพบที่ รพ.สต.เขวา  ตำบลแวงน่าง นัดพบที่วัดแวงน่าง  และตำบลท่าสองคอน  นัดพบที่วัดไชยโพธิ์ เพื่อรับการตรวจภาวะสุขภาพเท้าจากทีมวิจัย 

 

 

          ภาพประกอบ  การทดลองเหยียบแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้า

 

          เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย

            เครื่องมือในการทดลอง  ประกอบด้วยคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเท้า  เทคนิคการล้างเท้า  และวิธีใช้แผงไข่มะกรูด

            เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือ  แบบประเมินภาวะสุขภาพเท้า  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย  3  ส่วน    ได้แก่  1.  ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง  รวมถึงสภาพเท้า  โดยการสังเกตและสอบถาม  2. ระดับอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานโดยใช้ Monofilament ตรวจเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วยเบาหวานข้างละ 4 จุด  ตามวิธีการตรวจภาวะสุขภาพเท้าแบบใหม่ของAmerican Diabetic Association  (ADAโดยตรวจที่นิ้วหัวแม่เท้าและหัวกระดูกบริเวณโคนนิ้วที่ 1, 3, 5  หรือที่หัวแม่เท้า  นิ้วกลาง  และนิ้วก้อย  ตามลำดับ  โดยให้คะแนนอาการชาจุดต่าง ๆ จุดละ 1  คะแนน  จำแนกได้เป็น  4  ระดับ  ได้แก่  ระดับที่ 1  มี1  และ2  คะแนน  ระดับที่ 2  มี 3 และ  4  คะแนน  ระดับที่ 3  มี5 และ  6 คะแนน และระดับที่  4  มี 7 และ  8 คะแนน โดยกำหนดเกณฑ์ของระดับเทียบกับคะแนน ดังนี้

          ระดับที่ 1  หมายถึง  ปลายเท้าข้างขวาและซ้าย  มีอาการชาคือด้านขวา1ซ้าย  0 จุด หรือด้านขวา0ซ้าย1จุด  หรือด้านขวา 1ซ้าย 1 หรือด้านขวา2ซ้าย 0จุด หรือด้านขวา 0ซ้าย2จุด

          ระดับที่ 2  หมายถึง  ปลายเท้าข้างขวาและซ้าย  มีอาการชาคือด้านขวา2 ซ้าย 1 จุด  หรือด้านขวา 1  ซ้าย  2 จุด  หรือด้านขวา  2  ซ้าย  2  จุด 

          ระดับที่ 3  หมายถึง  ปลายเท้าข้างขวาและซ้าย  มีอาการชาคือด้านขวา3ซ้าย 0 จุด  หรือด้านขวา0  ซ้าย 3 หรือด้านขวา 3ซ้าย  1 หรือด้านขวา 3ซ้าย   2 หรือด้านขวา 1ซ้าย 3 หรือด้านขวา 2ซ้าย  3 หรือด้านขวา 3ซ้าย  3

          ระดับที่ 4  หมายถึง  ปลายเท้าข้างขวาและซ้าย  มีอาการชาคือด้านขวา  4ซ้าย 0 จุด  หรือด้านขวา4  ซ้าย 1 หรือด้านขวา 4ซ้าย  2 หรือด้านขวา 4ซ้าย  1 หรือด้านขวา 1ซ้าย 4 หรือด้านขวา 2ซ้าย  4 หรือด้านขวา 4ซ้าย  3 หรือด้านขวา  4  ซ้าย 4

แผนการวิจัยและวิธีการดำเนินงาน

                           X1           X2          X3         X4          X5            X6         X7 

 

                                                                                   

                        O1             O2          O3          O4         O5            O6          O7

 

                    O1   หมายถึง  การตรวจประเมินสภาวะสุขภาพเท้า ก่อนการทดลอง     

                    O2,  O3, O4, O5, O6 ,O7หมายถึง  การตรวจประเมินสภาวะสุขภาพเท้า  ภายหลังผ่านการทดลอง ไปแล้ว  1, 2, 3, 4, 5, 6สัปดาห์ ตามลำดับ

                     X1- X2, X2- X3,  X3- X4,  X4- X5,  X5- X6, X6- X7   หมายถึง  การเหยียบแผงไข่มะกรูด  เป็นเวลา  1, 2, 3 , 4, 5, 6สัปดาห์  ในสัปดาห์ที่ 1,2,3,4,5,6 ตามลำดับ

จริยธรรมในการวิจัย

            โครงร่างวิจัยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้วผู้วิจัยได้ชี้แจงกับผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการทุกคน  เกี่ยวกับวัตถุประสงค์  ขั้นตอนวิธีการและระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ประโยชน์และขอความสมัครใจในการเข้าร่วมวิจัย 

            ผลการวิจัย

            ผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายเท้า  จำนวน  30  คน  มีอายุระหว่าง  62 -78  ปี  อายุเฉลี่ย   66  ปี  เป็นโรคเบาหวานนาน3 - 25  ปี  ระยะเวลาเฉลี่ยของโรคเบาหวาน 11  ปี  ระดับน้ำตาลในเลือด  อยู่ระหว่าง  195 – 325 mg %  มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย  275 mg %   จากการวัดก่อน-หลังการทดลอง  ระยะเวลา  6  สัปดาห์  และทำการประเมินขณะทำการทดลองทุกสัปดาห์  โดยแบบประเมินภาวะสุขภาพเท้า  ด้วยการจำแนกความรู้สึกของปลายเท้าออกเป็น 4  ระดับ  ได้แก่  ความรู้สึกชาระดับ  1, 2, 3  และ  4  ผลการศึกษาพบว่า  ผู้ป่วยมีความรู้สึกชาระดับ 1 ร้อยละ  16.66   ระดับ  2  และ 3  ร้อยละ  26.67และระดับ  4  ร้อยละ 30  โดยภายหลังการทดลอง สัปดาห์ที่ 1 พบว่า  กลุ่มตัวอย่างทุกระดับยังมีความรู้สึกชาเหมือนเดิมทั้งหมดต่อมาสัปดาห์ที่ 2  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างระดับ 1  ร้อยละ  อาการชาหายไปทั้งหมดต่อมาสัปดาห์ที่ 3  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างระดับ 2  ครึ่งหนึ่งอาการชาหายไป  ส่วนอีกครึ่งหนึ่งระดับความรู้สึกชาลดลงเป็นระดับ 1  ส่วนกลุ่มตัวอย่างระดับ 3  ร้อยละ  25  อาการชาหายไป   ส่วนที่เหลือร้อยละ  75  ระดับความรู้สึกชาลดลงเป็นระดับ  2  ต่อมาสัปดาห์ที่ 4 พบว่า  กลุ่มตัวอย่างระดับ 1และระดับ 2  ที่เหลือ อาการชาหายไปทั้งหมด  ต่อมาสัปดาห์ที่ 5  พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกระดับ  4 ครึ่งหนึ่งอาการชาหายไป  ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง  (จำนวน  2  คน) ระดับความรู้สึกชาลดลงเป็นระดับ  2  และสัปดาห์ที่ 6  พบว่า กลุ่มตัวอย่างระดับ 2  ที่เหลือ  ยังมีอาการชาเช่นเดิม  และจากเปรียบเทียบผลการผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายเท้าก่อนการทดลองกับหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 1-6 พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    ดังตารางแสดงดังนี้

ตารางที่ 1  เปรียบเทียบ ผลของแผงไข่มะกรูดเพื่อลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานก่อนทดลองกับหลังทดลอง

 

กลุ่มตัวอย่าง

N

Z

p-value

ก่อนทดลอง

หลังทดลอง สัปดาห์ที่ 1

30

30

4.70

.00

ก่อนทดลอง

หลังทดลองสัปดาห์ที่ 2

30

30

4.78

.00

ก่อนทดลอง

หลังทดลองสัปดาห์ที่ 3

30

30

4.78

.00

ก่อนทดลอง

หลังทดลองสัปดาห์ที่ 4

30

30

4.78

.00

ก่อนทดลอง

หลังทดลองสัปดาห์ที่ 5

30

30

4.78

.00

ก่อนทดลอง

หลังทดลองสัปดาห์ที่ 6

30

30

4.78

.00

 

            สรุปผลการศึกษาได้ว่า  การเหยียบแผงไข่มะกรูดของผู้สูงอายุ  สามารถลดอาการชาปลายเท้าได้ 

การอภิปรายผล

            ผลการศึกษาพบว่า  การเหยียบแผงไข่มะกรูด  ช่วยลดอาการชาปลายเท้าของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีอาการชาปลายประสาทจากเบาหวาน  และบางรายสามารถรักษาอาการชาปลายเท้าได้หายขาด  สอดรับกับวันดี  กฤษณพันธ์  (2539 : 141)  พบว่า ภายในมีต่อมน้ำมันหอมระเหยน้ำมันหอมระเหยของผิวมะกรูดประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน (B -pinene)ไลโมนีน (Iimonene) และซาบินีน (Sabinene) เป็นสารหลักซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมากลายเป็นกลิ่น  เช่นเดียวกับ ไพล ขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อยตะไคร้ มะกรูด การบูร  และน้ำมันหอมระเหยสามารถละลายออกมาเป็นตัวยาซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกายได้   นอกจากนี้ตำรายาไทยกล่าวไว้ว่า  ผิวลูกมะกรูด มีรสหอมร้อน และน้ำมันหอมระเหยของผิวมะกรูดช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นตามหลักของศาสตร์สุวคนธ์บำบัด (Aromatherapy) ที่ใช้หลักการสำคัญคือ เมื่อร่างกายได้รับสาระสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยแล้วจะมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายที่ควบคุมระบบประสาท ระบบฮอร์โมนในร่างกายดังนั้นการใช้เท้าเหยียบมะกรูดที่บรรจุในแผงไข่กดลงสลับขวาซ้ายกับผู้ป่วยเบาหวาน  จึงทำให้เกิดความร้อนที่ทำให้น้ำมันหอมระเหยละลายออกมาซึมเข้าสู่ปลายเท้า ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและการไหลเวียนที่บริเวณปลายเท้าได้มากขึ้นและการที่กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของผิวมะกรูดช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้นลดอาการชาปลายเท้าที่เกิดจากอาการชาปลายประสาทจากเบาหวานได้อีกทางหนึ่ง

นอกจากนี้หัวขั้วของผลมะกรูดที่วางตั้งขึ้นด้านบนของแผงไข่เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาทของปลายเท้า  เป็นการประยุกต์ศาสตร์ของการกดจุดฝ่าเท้าแบบการแพทย์แผนจีนที่มีมาแต่โบราณมาใช้  สอดรับกับทฤษฎีของการนวดฝ่าเท้าการแพทย์จีนที่อธิบายไว้ว่า  ฝ่าเท้าของมนุษย์เกี่ยวสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย  ดังนั้นหากทำการนวดฝ่าเท้าพลังแรงนวดจะกระตุ้นถูกเซลล์ประสาทที่หล่อเลี้ยงอยู่รอบข้างและอวัยวะภายในที่เกี่ยวสัมพันธ์  โดยผ่านศูนย์กลางประสาทเชื่อมโยง  ทำให้เซลล์ประสาทตื่นตัวทำงานอย่างกระฉับกระเฉงและผลักดันให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้นเลือดไหลเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ  อาการชาหรือเจ็บปวดที่มีอยู่ก็จะทยอยทุเลาหายไป

            แต่สำหรับกลุ่มตัวอย่างจำนวน  2  คน ที่อาการชาปลายเท้าลดลง  แต่ไม่หายขาดภายหลังการทดลอง   เนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวมีลักษณะปลายเท้าที่ซีด  หนา  และแข็งมาก  เป็นผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานมากว่า  15 ปี  มีระดับน้ำตาลที่มากกว่า  200  mg %  โดยตลอดไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้  จึงแนะนำให้เหยียบแผงไข่มะกรูดอย่างต่อเนื่องต่อไปจนกว่าจะหายชาปลายเท้า  เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการเกิดแผลเรื้อรัง  ตามมาด้วยการสูญเสียอวัยวะส่วนปลายได้โดยง่ายรวมกึงการแนะนำการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเอง  รวมถึงการไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง 

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรแนะนำให้ผู้สูงอายที่อาการชาปลายเท้าหายขาดภายหลังการทดลอง  ให้เหยียบแผงไข่มะกรูดต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ  และดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง  เนื่องจากอาจสามารถกลับมามีอาการชาซ้ำอีกได้ 

  2. ควรมีการนำองค์ความรู้เรื่องการเหยียบแผงไข่มะกรูดไปเผยแพร่แก่สาธารณชนเพื่อใช้ในการรักษาอาการชาปลายเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วไป

  3. ในช่วงฤดูร้อน  ซึ่งผลมะกรูดมีขนาดเล็กและหาได้ยาก  สามารถลดอาการชาปลายเท้าได้ด้วยการแช่เท้าด้วยน้ำกับผลมะกรูด

  4. มะกรูดที่บรรจุในแผงไข่ควรมีขนาดกลางขนาดไม่ใหญ่เกินไป  เนื่องจากขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้ไม่สามารถบรรจุลงในช่องแผงไข่ไม่ได้  ส่วนขนาดเล็กเกินไป จะทำให้เท้าเหยียบลงไปสัมผัสกับขอบแผงไข่ซึ่งเป็นพลาสติกแข็ง

  5. ควรนำน้ำมันของผิวมะกรูดหรือสกัดน้ำมันผิวมะกรูดมาทำการนวดฝ่าเท้า  เพื่อรักษาอาการชาปลายเท้าโดยตรง

  6. ในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไปควรกำหนดผลของคะแนน  และระดับของอาการชาปลายเท้าจำแนกออกเป็นข้างซ้ายและขวา  อย่างละข้าง  ไม่นำมาสรุปผลรวมกัน 

               กิตติกรรมประกาศ

              ขอขอบคุณวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม  ที่ให้งบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย  ประจำปีงบประมาณ 2552  และขอขอบคุณผู้สูงอายุ  อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตำบลเขวา  ตำบลแวงน่าง และตำบลท่าสองคอน  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้ความร่วมมือในการศึกษาวิจัย 

    เอกสารอ้างอิง

    คมสัน  หุตะแพทย์. ผลไม้ใช้ทำยา.  กรุงเทพฯ :เกษตรกรรมธรรมชาติ ;2553.

    จิตรลดา  ชมบุญ.  ปลูกและใช้สมุนไพรใกล้ตัว.   กรุงเทพฯ  :   ไพลิน; 2549.

    บุญยะประภัศรนันทวัน.  สมุนไพรพื้นบ้าน (1).  กรุงเทพฯ :  ประชาชนจำกัด; 2539. 

    ผัก  333  ชนิด  คุณค่าอาหารและการกิน. กรุงเทพฯ   :   แสงแดดจำกัด; 2550.

    วันดี  กฤษณพันธ์. สมุนไพรสารพัดประโยชน์.  พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ  :  คณะเภสัชศาสตร์ 

               มหาวิทยาลัยมหิดล;  2539.

    สุทิน ศรีอัษฎาพร  และคณะ.  พฤติกรรมการดูแลเท้าและแผลที่เท้าด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวานไม่  

               พึ่งอินสุลิน.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

               มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

    สุทิน  ศรีอัษฎาพร  และคณะ.   โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการ พิมพ์; 2548.

    อุไร  จิรมงคลการ.  ผักพื้นบ้าน เล่ม  1  indigenous  Vegetables.กรุงเทพฯ :  บ้านและสวน;  2547.

    De Blasi, V.et  al. Amoebicidal  effect  of  essential  oils in  vitro. J. ToxicolClin. Exp  10

               (6) ;1990.361-373.

    Verheij, E.W.M.and  Coronel, R.E. (Editors). Plant  Resources  of  South  -  East 

                Asia  No2 .Edible  fruits  and nuts.  Process  Foudation,  Bogor,Indonesia.;

                1992.pp.3262.

Tawatsin, A. et al. Repellency of volatile oils from plants against three mosquitovectors.

            J. Vector Ecol 26 (1).; 2001. 76-82.

Wattenberg.L.W.andCoccia, J,B. Inhibition  of  4 – (menthytrosamino) –l-(3-pyridyl)-

             1-butanone  carcinogenesis in mice  by d-limonene  and  citrus  fruit  oils.

             Carcinogensis  12 (1).;1991. 115-7