ประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการในโรงพยาบาลมหาสารคามและความพึงพอใจของผู้รับบริการ สู่การพัฒนา “ประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่าย”

                         ดร.ทักษิณาร์  ไกรราช*ปราณี  คำศิริรักษ์**วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม

    กฤตย์  ไกรราช*** มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพวัตถุประสงค์การวิจัย  1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เคยรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคามและสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม  2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างได้แก่  ผู้ป่วยนอกจำนวน14  ตำบล  ในอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  แบ่งออกเป็น  2  กลุ่ม ได้แก่  1. กลุ่มที่เคยรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างน้อย  2  ครั้ง  ใน  1  ปี ที่ผ่านมา  และ 2. กลุ่มที่เคยรับบริการสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างน้อย 2  ครั้ง ใน 1 ปี ที่ผ่านมา ที่เข้ามารับบริการระหว่างเมษายน  2551 - กันยายน  2552

          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการในโรงพยาบาลมหาสารคาม  ประกอบด้วย  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เส้นทางคมนาคม   ความเชื่อความศรัทธาต่อแพทย์ความพร้อมเวชภัณฑ์ยา  สิทธิ์เบิกจ่ายตรง  สิ่งเอื้ออำนวยความสะดวก  ระบบส่งต่อ  และฤดูกาลสอบเข้ามหาวิทยาลัย

              สำหรับผลการศึกษาความพึงพอใจในการรับบริการพบว่า  กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มที่ 1 มีความพึงพอใจในการรับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม3  ด้านที่มีความพึงพอใจต่ำกว่าร้อยละ  80   คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่ ที่จอดรถของโรงพยาบาลมหาสารคาม  เก้าอี้นั่งรอตรวจ   และ จำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอ  และห้องน้ำไม่ค่อยสะอาด  ด้านระบบบริการ  ได้แก่  ให้บริการไม่รวดเร็ว ทันใจ  และใช้ระยะเวลานานในการรอตรวจกับแพทย์ที่ห้องตรวจตึกผู้ป่วยนอกและด้านระบบส่งต่อ ได้แก่ใบส่งตัวกลับให้ผู้ป่วยที่มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้รับการส่งกลับสถานบริการเดิม  ส่วนสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ  มี3  ด้าน  มีความพึงพอใจต่ำกว่าร้อยละ  80   คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน   ได้แก่   เก้าอี้นั่งรอตรวจ  และห้องน้ำ ไม่เพียงพอ  ด้านบุคลากร  ได้แก่  ไม่มีแพทย์ออกให้บริการตรวจที่คลินิกโรคเรื้อรังทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอและเจ้าหน้าที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในหมู่บ้านเป็นประจำ ไม่สม่ำเสมอ  และด้านระบบเวชภัณฑ์ยา  ได้แก่  สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิไม่มียาครบถ้วนในการให้บริการรักษาผู้ป่วย

คำสำคัญ  :  ความพึงพอใจของผู้รับบริการ  การให้บริการสุขภาพ

 

ABSTRACT

          The study is the qualitative and quantitative study. The purposes areto investigate the satisfaction of general patients having been treated at the Outpatient ward and at the primary care center of the Hospital   and  to  study factors  be determine tohealth care services of Mahasarakham Hospital and.Tools used are structured interview, community stage, group discussion, in depth-interview, and participant observation. The two samplings.(patients having been treated at the hospital and patients having been treated at the primary care center) are general patients, people in 14 sub-districts in Muang district of Mahasarakham,  at least 2 visit in 1 yrs. ago. The study period has started from April 2008 to September 2009.

          The findings show that: The satisfaction of the general patients having been treated at the hospital is at a level lower than 80 percent in the  three aspects are 1.basic structure(Car parking, Chair and Rest room) 2.service system, and 3. refer system,  The satisfaction of the general patients having been treated at the primary care center is at a level lower than 80 percent in the three aspects are 1.basic structure(Chair and Rest room) 2. personnel 3.medical supply system.

          Factors  be determine tohealth care services of Mahasarakham Hospital consist of geographical features, transportation, belief and faith, medical supplies, direct withdrawal right, facilities, refer system, and the national university entrance exam period.

Key  words :Patientssatisfaction,  Health care   service

 

บทนำ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการพัฒนาโรงพยาบาลบริการประทับใจไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย วัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาผู้ป่วยแออัด  รอคิวนานและได้รับบริการที่ประทับใจเพิ่มความสะดวกคล่องตัวในการใช้บริการที่ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลใหญ่และลดจำนวนผู้รับบริการที่ไม่จำเป็นต้องใช้บริการที่โรงพยาบาลรวมทั้งพัฒนาเครือข่าย เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลควบคู่กัน12

โรงพยาบาลมหาสารคาม เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ที่มีขนาด 472 เตียง มีหน้าที่ให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่ระดับปฐมภูมิจนถึงระดับตติยภูมิ  โดยให้บริการดูแลสุขภาพประชาชนและรับส่งต่อประชาชนทั้งในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ด้านการดูแลสุขภาพนั้นรับผิดชอบประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม  จำนวน  958,312  คน  ประชาชนในเขตอำเภอเมือง รวม  14  ตำบล  จำนวน  144,260  คน   จากรายงานผู้ป่วยทั่วไปที่มารับบริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม ในปี พ.. 2550 - 2551 พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้มารับบริการทำแผล   รองลงมาเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน  รองลงมาเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  นอกจากนี้ในคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  โดยเฉพาะคลินิกโรคเบาหวานทุกวันพุธ  มีผู้มารับบริการจำนวนมาก  มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังมารับบริการเฉลี่ยจำนวน 250  คนต่อวัน4

เมื่อจำแนกภาพรวมผู้ป่วยทั่วไปที่มารับบริการตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นรายตำบลและอำเภอ  พบผู้ป่วยที่มารับบริการมากที่สุดเป็นอำเภอเมือง  ร้อยละ 59.83เป็นผู้ป่วยทั่วไปใน 14 ตำบล  เขตอำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  อันได้แก่  ตำบลตลาด  ตำบลท่าสองคอน  ตำบลเขวา  ตำบลแวงน่าง  ตำบลแก่งเลิงจาน  ตำบลเกิ้ง   ตำบลโคกก่อ  ตำบลลาดพัฒนา  ตำบลหนองโน  ตำบลหนองปลิง  ตำบลท่าตูม  ตำบลบัวค้อ  ตำบลดอนหว่าน  และตำบลห้วยแอ่ง  เมื่อจำแนกเป็นรายตำบลพบว่าส่วนใหญ่เป็นตำบลที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้แก่  ผู้ป่วยทั่วไปตำบลตลาดจำนวนมากที่สุดร้อยละ 43.30  ตำบลแวงน่าง ร้อยละ 9.44  ตำบลท่าสองคอน ร้อยละ 7.28   และตำบลเขวา ร้อยละ  5.52  ตามลำดับ4

          ด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าวโรงพยาบาลมหาสารคามจึงทำการศึกษาวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลมหาสารคาม  และความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เคยรับบริการในโรงพยาบาลมหาสารคามและสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิก่อนดำเนินการโครงการพัฒนาโรงพยาบาล  บริการประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่ายบริการเพื่อสามารถนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถพัฒนาโรงพยาบาลมหาสารคามและสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ  และตรงตามสภาพความเป็นจริง  โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เคยรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคามและสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรอบแนวคิดการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 


วิธีดำเนินการวิจัย

 

 

วิธีการศึกษา

          การวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บรวบรวมเชิงคุณภาพ

          ประชากร  ได้แก่  ผู้ป่วยที่เคยรับบริการ  14 ตำบล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

          กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่

                   กลุ่มที่  1 เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่เคยรับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม  อย่างน้อย 2  ครั้ง  ใน  1  ปี  ที่ผ่านมา   จำนวนตำบลละ  30  คน  รวม  420  คน

                   กลุ่มที่  2 เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่เคยรับบริการที่สถานีอนามัยในตำบลนั้น ๆ  อย่างน้อย 2  ครั้ง  ใน  1  ปี  ที่ผ่านมา  จำนวนตำบลละ  30  คน  รวม  420  คน

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  และข้อมูลปฐมภูมิจากกลุ่มตัวอย่าง2 กลุ่ม โดยใช้เครื่องมือ 3 ประเภท ได้แก่ 

1. แบบสอบถาม  จำนวน20  ข้อ  ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง 2. แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก  และ 3. การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม

การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ

หาความเที่ยงตรง (Validity) นำแบบสัมภาษณ์ไปตรวจสอบความถูกต้องของภาษาและความเที่ยงตรงของเนื้อหา (content  validity) กับทีมงานวิจัยวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคามและผู้ทรงคุณวุฒิ  3  ท่าน  และหาความเชื่อมั่น (Reliability) หาโดยการนำแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับประชาชนหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวน 30คน เพื่อทดสอบความเข้าใจต่อคำถาม ความชัดเจนของภาษาและระยะเวลาตอบแบบสัมภาษณ์ จากนั้นทำการปรับปรุงและแก้ไขแบบสัมภาษณ์ให้มีความเที่ยงกับเนื้อหาและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแบบสัมภาษณ์แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป    ด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค(Cronbach’s alpha coefficient)  เท่ากับ  8.32

          ตรวจสอบแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  3  ท่าน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขให้ถูกต้องตามความเหมาะสม

          การวิเคราะห์ข้อมูล

          ข้อมูลเชิงปริมาณ  วิเคราะห์แบบสอบถาม  โดยใช้สถิติแบบง่าย ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบเช็คข้อมูล (Probe  List)   และตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) โดยการเก็บข้อมูลเดิมซ้ำแต่เปลี่ยนจุดหรือผู้ให้ข้อมูล  รวมถึงการถามซ้ำจากผู้ให้ข้อมูลเดิม  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์  ถูกต้อง  และเที่ยงตรงและวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมด้วยวิธีอื่น ๆ โดยใช้วิธีคิดหรือมุมมองจากผู้ป่วยที่เคยรับบริการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง  ร่วมกับมุมมองของนักวิจัย  โดยแบ่งเนื้อหาแต่ละบทตามความมุ่งหมายของการวิจัย   นำข้อมูลมาอธิบายปรากฏการณ์  วิเคราะห์ สังเคราะห์ตีความโดยวิธีการเชิงอุปนัย (Inductive method) ในเชิงสหวิทยาการ 

ผลการศึกษา

          กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้ป่วยทั่วไปที่มีอายุ 15 ปี  ขึ้นไป  ที่เคยรับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างน้อย 2  ครั้ง ใน 1 ปีที่ผ่านมา

               ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะทั่วไป

          ผลการศึกษาพบว่า  เป็นเพศหญิงมากที่สุด  รองลงมาเป็นเพศชาย  คิดเป็นร้อยละ  71.0,  29.0 ตามลำดับ  มีอายุ  60  ปีขึ้นไปมากที่สุด  รองลงมาเป็นอายุ  50-59,  40-49,  30-39,  20-29 และ15-20  ปี  ร้อยละ 35.0, 24.5,  19.8,13.8,  5.5  และ 1.3 ตามลำดับด้านการศึกษา  ระดับประถมปีที่ 4  มากที่สุด  รองลงมาเป็นประถมปีที่ 6 หรือ 7 รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น  รองลงมาเป็นระดับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 4  รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี  รองลงมาเป็นระดับ ปวส.  รองลงมาไม่ได้เรียน คิดเป็นร้อยละ  17.2, 10.4 ,7.1, 3.3,  3.0,0.8,0.5และ 0.3  ตามลำดับ  ด้านประกอบอาชีพ  ทำนามากที่สุด รองลงมาไม่ประกอบอาชีพ  รองลงมาเป็นค้าขายรองลงมาทำไร่  รองลงมารับราชการ  รองลงมาเป็นนักศึกษา และรองลงมาเป็นธุรกิจส่วนตัว  และน้อยที่สุดเป็นพระภิกษุสงฆ์  คิดเป็นร้อยละ74.4,8.4,7.4,3.8,2.5,1.6,1.1,0.5และ 0.3  ตามลำดับ

          ข้อมูลด้านสุขภาพพบว่า  มารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคามด้วยเบาหวานมากที่สุด  ร้อยละ  34.7  โรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ  23.8 รองลงมาเป็นมารับบริการทำแผล ร้อยละ  19.7รองลงมาเป็นปวดข้อและโรคกระเพาะ  ร้อยละ  19.4    รองลงมาเป็นหวัด  ร้อยละ 14.1  รองลงมาเป็นโรคไขมันในเส้นเลือด  ร้อยละ  9.7  รองลงมาเป็นโรคหัวใจ  ร้อยละ  6.5  รองลงมาเป็นโรคไต  ร้อยละ  6.0 รองลงมาเป็นหอบหืด  ร้อยละ 3.7  รองลงมาเป็นรับบริการฝากครรภ์ ร้อยละ  2.1   รองลงมาเป็นไข้ ร้อยละ  1.3  รองลงมาเป็นมะเร็ง  ร้อยละ  1.0  รองลงมาเป็นปวดท้อง ร้อยละ 0.8รองลงมาเป็นปวดฟัน  ปวดหลังและอุจจาระร่วง  ร้อยละ 0.5 และน้อยที่สุดเป็นไอ ร้อยละ 0.3

          ประเด็นที่ 2  ความพึงพอใจในการรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม  

          ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มที่ 1 ความพึงพอใจในการรับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม  มี  3  ด้าน  ที่มีความพึงพอใจต่ำกว่าร้อยละ  80  แต่อยู่ระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ได้แก่ ที่จอดรถของโรงพยาบาลมหาสารคาม  เก้าอี้นั่งรอตรวจ   และ จำนวนห้องน้ำไม่เพียงพอ  และห้องน้ำไม่ค่อยสะอาด  ด้านระบบบริการ  ได้แก่  ให้บริการไม่รวดเร็ว ทันใจ  และใช้ระยะเวลานานในการรอตรวจกับแพทย์ที่ห้องตรวจตึกผู้ป่วยนอกและด้านระบบส่งต่อ ได้แก่ ใบส่งตัวกลับให้ผู้ป่วยที่มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ไม่ได้รับการส่งกลับสถานบริการเดิม    

          ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาให้เกิดความพึงพอใจในระดับมาก ร้อยละ  80  ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

          เมื่อจำแนกความพึงพอใจในการรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นรายตำบล  เรียงลำดับความพึงพอใจจากน้อยไปหามาก  ได้ดังนี้

          1. ประเด็น  ที่จอดรถของโรงพยาบาลมหาสารคาม  และระยะเวลาที่ใช้ในการรอตรวจ

กลุ่มตัวอย่างทั้ง  14  ตำบล   มีความพึงพอใจร้อยละ  60 

          2.ประเด็น  จำนวนห้องน้ำของโรงพยาบาลมหาสารคาม  กลุ่มตัวอย่าง 13  ตำบล มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60   มี  1  ตำบล  มีความพึงพอใจร้อยละ  80

          3. ประเด็น  ความสะอาดของห้องน้ำผู้รับบริการ  กลุ่มตัวอย่าง  12 ตำบล   มีความพึงพอใจระดับปานกลางร้อยละ  60  มี  2  ตำบล  มีความพึงพอใจร้อยละ  80

          4. ประเด็น  เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลให้บริการรวดเร็ว ทันใจ   กลุ่มตัวอย่าง 10  ตำบล มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  อีก  4  ตำบล  มีความพึงพอใจร้อยละ  80

5. ประเด็น  ไม่มีใบส่งตัวผู้ป่วยหนักถือกลับไปให้เจ้าหน้าที่สถานบริการใกล้บ้าน  กลุ่มตัวอย่าง  9  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับ  มี  5  ตำบลมีความพึงพอใจร้อยละ  80

           6. ประเด็น  ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน  ถูกส่งตัวให้รักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลมหาสารคาม  เมื่ออาการดีขึ้นโรงพยาบาลไม่ส่งกลับ   ยังคงนัดมารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลต่อ   มีผู้ป่วยทั่วไป  7  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60   ส่วนอีก  7  ตำบล มีความพึงพอใจร้อยละ  80 และประเด็น  เก้าอี้นั่งรอตรวจของผู้รับบริการ  กลุ่มตัวอย่าง  7  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60   ส่วนอีก  7  ตำบล  มีความพึงพอใจร้อยละ  80

           กลุ่มที่  2  ผู้ป่วยทั่วไปที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ที่เคยรับบริการที่สถานบริการระบบปฐมภูมิ อย่างน้อย  2  ครั้ง  ใน 1 ปีที่ผ่านมา 

              ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะทั่วไป

          ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2   เป็นเพศหญิงมากที่สุดรองลงมาเป็นเพศชาย  คิดเป็นร้อยละ  74.9, 25.1  ด้านอายุ  มีอายุ 60  ปีขึ้นไปมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มอายุ  40-49,50-59 ,30- 39,20-29 ,15-20  ปี คิดเป็นร้อยละ  35.4,23.7 22.3,11.2,5.7  และ 1.6  ตามลำดับ  ด้านการศึกษา ระดับประถมปีที่ 4  มากที่สุดรองลงมาเป็นประถมปีที่ 6 หรือ 7  รองลงมาเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  รองลงมาเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น  รองลงมาเป็นระดับการศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 4  รองลงมาเป็นระดับปริญญาตรี  รองลงมาเป็นระดับ ปวส.  รองลงมาไม่ได้เรียน   และน้อยที่สุดเป็นระดับอนุปริญญา  คิดเป็นร้อยละ  57.5, 17.2, 10.4 ,7.1,3.3 ,3.0,0.8,0.5   และ 0.3 ตามลำดับ

     ด้านประกอบอาชีพ  ทำนามากที่สุด   รองลงมาไม่ประกอบอาชีพ  รองลงมาเป็นรับจ้างรองลงมาเป็นค้าขายรองลงมาทำไร่ รองลงมารับราชการ รองลงมาเป็นนักศึกษา รองลงมาเป็นธุรกิจส่วนตัว         และน้อยที่สุดเป็นพระภิกษุสงฆ์  คิดเป็นร้อยละ  74.4,  8.4,7.4, 3.8,  2.5,1.61.1,0.5  และ 0.3      ตามลำดับ

          ข้อมูลด้านสุขภาพ  พบว่า ไปรับบริการที่สถานบริการระบบปฐมภูมิ  ด้วยโรคหวัดมากที่สุด  ร้อยละ  28.3  รองลงมาเป็นโรคเบาหวาน  ร้อยละ  27.2  รองลงมาเป็นปวดศีรษะ ร้อยละ  26.2  รองลงมาเป็นปวดข้อ ร้อยละ  21.3  รองลงมาเป็นโรคกระเพาะ  ร้อยละ  18.5  รองลงมาเป็นโรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ  17.4 รองลงมาเป็นแผล  ร้อยละ  11.7    รองลงมาเป็นไขมันในเส้นเลือด  ร้อยละ 4.9  รองลงมาเป็นโรคไต  ร้อยละ  2.5  รองลงมาเป็นโรคหัวใจ  ร้อยละ 2.2  รองลงมาเป็นไข้  ร้อยละ  1.4  รองลงมาเป็นหอบหืด  ร้อยละ 1.1  รองลงมาเป็นปวดท้อง  ปวดหลังอุจจาระร่วง  และฉีดยาคุมกำเนิด  ร้อยละ  0.8  เท่ากัน  รองลงมาเป็นมะเร็ง  ฝากครรภ์  วัณโรค  และไทรอยด์  ร้อยละ 0.5 เท่ากัน

          ประเด็นที่ 2   ความพึงพอใจในการรับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม  

จากการศึกษาพบว่า มี3  ด้าน  ที่ความพึงพอใจต่ำกว่าร้อยละ  80  อยู่ระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  คือด้านโครงสร้างพื้นฐาน   ได้แก่   เก้าอี้นั่งรอตรวจ  และห้องน้ำ ไม่เพียงพอ  ด้านบุคลากร  ได้แก่  ไม่มีแพทย์ออกให้บริการตรวจที่คลินิกโรคเรื้อรังทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอและเจ้าหน้าที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในหมู่บ้านเป็นประจำ ไม่สม่ำเสมอ  และด้านระบบเวชภัณฑ์ยา  ได้แก่  สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิไม่มียาครบถ้วนในการให้บริการรักษาผู้ป่วย

          เมื่อจำแนกความพึงพอใจในการรับบริการที่สถานบริการระบบปฐมภูมิเป็นรายตำบล  เรียงลำดับความพึงพอใจจากน้อยไปหามาก  ได้ดังนี้

          1. ประเด็น จำนวนห้องน้ำ  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 13  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60   ส่วนอีก  1  ตำบล มีความพึงพอใจร้อยละ  80

          2. ประเด็น มีแพทย์มาให้บริการตรวจที่คลินิกโรคเรื้อรังทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ  จำนวน  12  ตำบล  มีความพึงพอใจต่ำกว่าร้อยละ  80  คือ  1  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับน้อยร้อยละ  40   และ  9  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  มี 2  ตำบล  มีความพึงพอใจมากกว่าร้อยละ 80 คือ  ระดับมาก  ร้อยละ  80  จำนวน  1  ตำบล และระดับมากที่สุด  ร้อยละ  100  จำนวน   1 ตำบล

          3. ประเด็น  สถานีอนามัยมียาให้บริการรักษาให้ผู้ป่วย  กลุ่มตัวอย่าง 9  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  นอกนั้นมีความพึงพอใจระดับมาก  ร้อยละ  80  และประเด็น  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในหมู่บ้านเป็นประจำสม่ำเสมอ  มีผู้ป่วยทั่วไปที่รับบริการจำนวน  9  ตำบล   มีความพึงพอใจระดับน้อย  ร้อยละ  40 และ  2  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  คิดเป็นร้อยละ  60   และมี 1  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด  ร้อยละ  100

          4. ประเด็น  จำนวนเก้าอี้นั่งรอตรวจ  กลุ่มตัวอย่าง 8  ตำบล  มีความพึงพอใจระดับปานกลาง  ร้อยละ  60  นอกนั้นมีความพึงพอใจร้อยละ  80

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม

          จากการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม  พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ารับบริการโรงพยาบาลมหาสารคาม   มีดังนี้

          1. ปัจจัยทางด้านภูมิประเทศ  และเส้นทางคมนาคม

          เนื่องจากหลายตำบล มีระยะทางไม่ห่างจากโรงพยาบาลมหาสารคาม  เช่น  ตำบลแวงน่าง  จำนวน 3  หมู่บ้าน ได้แก่  หมู่ที่ 10 บ้านโนนเดื่อ หมู่ที่ 12  บ้านโนนสำราญ  และหมู่ที่ 15 บ้านโนนม่วง  ตำบลเขวา  จำนวน  3  หมู่บ้าน  ได้แก่  บ้านหม้อ  บ้านบุติ้ว  และบ้านเชียงเหียน  และตำบลแก่งเลิงจาน เป็นพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมสะดวก มีรถโดยสารประจำทางรับส่งผ่านหน้าโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นประจำทุกวัน    ทำให้กลุ่มตัวอย่างนิยมเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม 

          ดังนั้นการจัดตั้งเครือบริการสาขาของโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อกำหนดให้สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิแต่ละแห่งมีเส้นทางหรือเป็นเครือบริการเส้นทางใด ควรนำระบบ GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาเป็นตัวกำหนดร่วม  เพื่อเอื้ออำนวยต่อที่ตั้งและการเดินทางมารับบริการของผู้รับบริการ

 

          2. ปัจจัยด้านวิธีคิด  ความเชื่อ

          จากการศึกษาพบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยด้านความเชื่อเป็นตัวกำหนดในการเลือกรับบริการในสถานบริการ  โดยมีความเชื่อว่าโรงพยาบาลมหาสารคาม  เป็นโรงพยาบาลใหญ่ที่มีความพร้อมทางบุคลากร  โดยเฉพาะแพทย์   สามารถช่วยชีวิตคนได้ทันเวลา  และมีศักยภาพที่จะช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ให้หายขาดได้ 

          ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า พบแพทย์แล้วมั่นใจ  สบายใจ

          ถ้าได้พบหมอใหญ่  ก็รู้สึกว่าได้มาโรงพยาบาลแล้ว

          คำว่า  แพทย์  ในความหมายประชาชนทั่วไปก็คือ คนที่มีความเก่งกาจสามารถรอบด้าน

          ดังนั้นเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ควรพัฒนาด้านบุคลากรให้แก่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ ด้วยการจัดสรรแพทย์ออกไปให้บริการทุกเดือน  อย่างต่อเนื่อง 

          3. ปัจจัยด้านเวชภัณฑ์ยา

          จากการศึกษาพบว่าสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิไม่มียาที่จำเป็นต่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น  ยา  Lipid  ซึ่งเป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด  ซึ่งมีผู้ป่วยโรคไขมันในเส้นเลือดจำนวนมากต้องรับประทาน ทำให้กลุ่มตัวอย่างจำเป็นต้องเดินทางไปรับยาที่โรงพยาบาลมหาสารคาม 

          ดังนั้นจึงควรสนับสนุนเวชภัณฑ์ยาให้พอเพียงต่อความจำเป็นของสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเช่นกัน  จึงจะช่วยสกัดกั้นผู้ป่วยเข้ารับบริการในโรงพยาบาลมหาสารคามได้

          ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวอย่างมีความหมายว่า  “ต้องให้ทั้งหมอ  ทั้งยามา จึงจะช่วยพวกเราได้”     4. ปัจจัยด้านสิทธิ์การเบิกตรง

          ประชาชนที่เป็นกลุ่มข้าราชการหรือกลุ่มที่มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลมักนิยมไปรับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม  เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าบริการรักษาพยาบาลต่างจากการไปรับบริการที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ   ที่จะต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อนจึงจะมาทำเบิกได้ภายหลัง

          ดังนั้นจึงควรเอื้ออำนวยความสะดวกเรื่องการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงได้ที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิได้ด้วยเช่นกัน

          5. ปัจจัยทางด้านนโยบายของโรงพยาบาล

          การรับบริการอนามัยแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์  กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์รับบริการตรวจครรภ์ (ANC)  ที่โรงพยาบาลมหาสารคาม  เพื่อพบแพทย์และรับบริการตรวจเลือด 1 ครั้ง  เพื่อตรวจหาVDRL  และ  OF  ดังนั้นเมื่อหญิงตั้งครรภ์ทำบัตรรับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลครั้งที่ 1  แล้วทำให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลในที่สอง  ที่สาม  และครั้งต่อ ๆ ไป  โดยไม่ไปรับบริการที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ  สิ่งที่เจ้าหน้าที่สถานบริการระบบปฐมภูมิได้ทำก็ การออกเยี่ยมหญิงหลังคลอดที่บ้าน

          ดังนั้นโรงพยาบาลควรจัดให้มีใบส่งตัวแก่หญิงตั้งครรภ์ที่มาตรวจครรภ์กับโรงพยาบาลในครั้งแรกกลับไปรับบริการฝากครรภ์ต่อที่สถานบริการระบบปฐมภูมิ

  1. ปัจจัยด้านการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน  EMS 

    การที่โรงพยาบาลมหาสารคามมีการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ด้วยการบริการรถ EMS

รวมถึงองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละตำบล  มีบริการผู้ป่วยรับส่งโรงพยาบาลมหาสารคาม

ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงการบริการของโรงพยาบาลมหาสารคามได้ง่าย  แต่ขาดการกลั่นกรองอาการของโรค  และไม่ผ่านขั้นตอนการรับบริการในสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายก่อน จึงทำให้ผู้ป่วยแออัดที่โรงพยาบาล  ดังนั้นโรงพยาบาลจึงควรรูปแบบมาตรการกลั่นกรองผู้ป่วย

          7. ปัจจัยด้านระบบส่งต่อ

          ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้หรือมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงเกิดขึ้น  จะได้รับการส่งต่อจากสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิไปยังคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลมหาสารคาม  แต่เมื่อรักษาจนสามารถควบคุมโรคได้แล้ว  มักยังไม่ส่งตัวผู้ป่วยกลับไปรักษาที่สถานบริการเดิม 

          ดังนั้น โรงพยาบาลจึงควรมีการตรวจเช็คความก้าวหน้าในการรักษาผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังเป็นระยะ  อย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำการส่งตัวผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าทางการรักษากลับ

          8. ปัจจัยด้านฤดูกาลของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

          ในช่วงฤดูกาลสอบเข้ามหาวิทยาลัย  นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6  จำนวนมากจะมารับบริการตรวจสุขภาพและขอรับใบรับรองจากแพทย์   เพื่อยื่นใบสมัครสอบเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา  หรือยื่นเข้ารายงานตัวเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้โรงพยาบาลมหาสารคามแออัดไปด้วยจำนวนนักศึกษา ดังนั้นจึงควรประสานทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามกำหนดเป็นนโยบายให้ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นแหล่งให้บริการนักศึกษา

          จากปัจจัยสำคัญ  8  ประการ  ข้างต้นที่กล่าวมา  ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาตัดสินใจเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลมหาสารคาม  ก่อให้เกิดความแออัดในโรงพยาบาลมหาสารคาม  โดยเฉพาะที่ตึกผู้ป่วยนอกในแต่ละวัน  เป็นที่มาของการบริการล่าช้า  สร้างความไม่ประทับใจให้แก่ผุ้รับบริการ ดังนั้นในการดำเนินการโครงการ ประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่าย  ของโรงพยาบาลมหาสารคาม   จึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการบริการที่เป็นอยู่เดิม  และพัฒนารูปแบบให้ใหม่และดีกว่าเก่า  เพื่อให้สอดรับกับปัญหาหรือสถานการณ์จริงที่ปรากฏ  นอกจากนี้จำเป็นต้องเร่งพัฒนาสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริการให้แก่สถานบริการระบบปฐมภูมิให้ได้มาตรฐาน และเพื่อเป็นการรองรับโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลด้วยอีกทางหนึ่ง

 

วิจารณ์

             การพัฒนาโรงพยาบาลมหาสารคาม เพื่อก่อให้เกิดการประทับใจ  ไร้ความแออัด  ได้นั้น โรงพยาบาลมหาสารคามต้องทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ในการรับบริการ ที่สำคัญควรประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น  มีสถานที่จอดรถเพียงพอมีเรือนพักญาติ  มีเก้าอี้พอเพียงในการนั่งรอรับการตรวจ  ห้องน้ำพอเพียงและสะอาด2. ด้านระบบบริการ  เช่น  เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยความเป็นกันเองและให้บริการรวดเร็วทันใจ  ไม่ใช้ระยะเวลานานในการรอตรวจ  3.ด้านระบบส่งต่อ  เช่น มีใบส่งตัวกลับให้ผู้ป่วยที่มานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล  มีการส่งตัวผู้ป่วยหวานที่เคยควบคุมภาวะแทรกซ้อนไม่ได้กลับไปรับบริการที่สถานบริการใกล้บ้าน

               สำหรับการพัฒนาสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคามเพื่อก่อให้เกิดการประทับใจ  ไร้ความแออัด  ได้นั้น จำเป็นต้องทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจในด้านต่าง ๆ ในการรับบริการ ที่สำคัญควรประกอบด้วย  1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น  มีเก้าอี้นั่งรอตรวจเพียงพอ  ห้องน้ำสะอาดและเพียงพอ  2. ด้านบุคลากร  เช่น  จัดให้มีแพทย์ออกให้บริการตรวจที่คลินิกโรคเรื้อรังทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ  และมีเจ้าหน้าที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเป็นประจำและสม่ำเสมอ  และ 3. ด้านระบบเวชภัณฑ์ยา  เช่น จัดให้มียาครบตามสภาพอาการของผู้รับบริการ

ตราบใดที่ผู้รับบริการยังไม่รู้สึกพึงพอใจในการรับบริการในด้านต่างๆ ผู้รับบริการก็จะพยายามแสวงหาสถานบริการสุขภาพที่คิดว่าดีกว่า  มั่นคงกว่า  ปลอดภัยกว่า อยู่เสมอ  โครงการ  “ประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่าย”  จะสำเร็จได้   ทุกสถานบริการสุขภาพต้องสร้างและพัฒนาระบบด้านต่าง ๆ ให้มีความพร้อม  ความเพียงพอแก่ผู้มารับบริการ  การให้บริการที่รวดเร็ว  มีประสิทธิภาพ   ก็จะนำมาซึ่งการไร้ความแออัดในการรอคอยรับบริการ  เมื่อไร้ซึ่งความแออัด  จะก่อให้เกิดความพึงพอใจ  และตามมาด้วยความประทับใจในที่สุด 

             นอกจากนี้  การจะให้ได้มาซึ่ง  “ประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่าย”  ได้นั้น  จำเป็นต้องพัฒนาสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิควบคู่กันไป  จากการศึกษาพบว่า  ผู้รับบริการส่วนใหญ่ต้องการรับบริการที่สถานบริการใกล้บ้าน  แต่สถานบริการสุขภาพเหล่านั้นต้องมีความพร้อมในการให้บริการ  โดยเฉพาะในด้านบุคลากร  มีแพทย์มาให้บริการเป็นประจำทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ  รวมถึงด้านเวชภัณฑ์ยา  การมีแพทย์อย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ  แต่ควรมีทั้งแพทย์ทั้งยามาด้วยพร้อม ๆ กัน  อีกทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ควรมีอย่างทันสมัยในการให้บริการ  ผู้บริการเล่าว่า  “หากสถานบริการใกล้บ้านมีพร้อม  เราก็พร้อมที่จะมารับบริการ  ไม่อยากต้องเสียเวลาไปไหนไกล” 

อาจกล่าวได้ว่า  การพัฒนาเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะส่งผลต่อความประทับใจ  ไร้ความแออัดในโรงพยาบาล  การพัฒนาเครือข่ายเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของผู้รับบริการ  ช่วยสกัดกั้นมิให้ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยเข้าสู่โรงพยาบาลเกินความจำเป็น

นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่า การตัดสินใจเข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพของผู้รับบริการ  มีปัจจัยหลายด้านเป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินใจได้แก่  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เส้นทางคมนาคม   ความเชื่อความศรัทธาต่อแพทย์ความพร้อมเวชภัณฑ์ยา  สิทธิ์เบิกจ่ายตรง  ระบบส่งต่อ  และฤดูกาลสอบเข้ามหาวิทยาลัย  ดังนั้นเพื่อนำสู่ความประทับใจ  ไร้ความแออัด  พัฒนาเครือข่ายได้อย่างเป็นรูปธรรมควรนำระบบ GIS (Geographic Information System) หรือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาเป็นตัวกำหนดร่วมในการจัดตั้งเครือบริการสาขาของโรงพยาบาล  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางมารับบริการของผู้รับบริการ อีกทั้งการเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ควรจัดสรรแพทย์ออกไปให้บริการในสถานบริการระบบปฐมภูมิทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง  พร้อมทั้งสนับสนุนเวชภัณฑ์ยาให้พอเพียงต่อความจำเป็นของสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ  รวมถึงควรจัดให้มีการใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงได้ที่สถานบริการระบบบริการปฐมภูมิ อีกทั้งควรมีการตรวจเช็คความก้าวหน้าในการรับการรักษาของผู้ป่วยคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง  เพื่อทำการส่งตัวผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าที่ดีกลับไปรับการรักษาในสถานบริการใกล้บ้านดังเดิม  ไม่แออัดยัดเหยียดอยู่เต็มโรงพยาบาล

          ข้อเสนอแนะ

                   1.ดำเนินการพัฒนารูปแบบโครงการประทับใจ  ไร้ความแออัด  และพัฒนาเครือข่าย โรงพยาบาลมหาสารคาม  โดยนำผลการวิจัยความพึงพอใจเรื่องนี้เป็นแนวทางการดำเนินงาน   เพื่อสร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ

                   2.ดำเนินการพัฒนารูปแบบโครงการประทับใจ  ไร้ความแออัด  และพัฒนาเครือข่าย โรงพยาบาลมหาสารคาม  โดยนำผลการวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิจารณาเข้ารับบริการเรื่องนี้เป็นแนวทางการดำเนินงาน  เพื่อสร้างความสะดวกและเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ  เข้ารับการรักษาในเครือบริการสาขาที่กำหนด

                   3.ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องการประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลและสถานบริการระบบบริการปฐมภูมิเครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม  ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้  เพื่อติดตามประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                   4.ดำเนินการวิจัยเรื่องการประเมินผลความพึงพอใจในการรับบริการของผู้ป่วยทั่วไปที่รับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม  และที่สถานบริการระบบปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง  เพื่อติดตามประเมินผลความพึงพอใจ  ที่จะส่งผลโดยตรงต่อการความประทับใจของผู้รับบริการ

           กิตติกรรมประกาศ

          ขอขอบคุณโรงพยาบาลมหาสารคาม  ที่สนับสนุนทุนวิจัย  ขอขอบคุณ  ดร.ทรงคุณ  จันทจร  คณบดีคณะวัฒนธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ที่ปรึกษางานวิจัย  และขอขอบคุณผู้บริหาร  และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาสารคาม สถานบริการระบบปฐมภูมิ  รวมถึงตัวแทนภาคประชาชนทุกส่วน    และผู้ป่วยทั่วไป ในพื้นที่  14  ตำบล  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการให้ข้อมูล  จนงานวิจัยแล้วเสร็จ

          เอกสารอ้างอิง

1.กองการพยาบาล.   แนวทางการดำเนินงานเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วยสำหรับพยาบาล.  

          กรุงเทพมหานคร  :  สามเจริญพานิชจำกัด;2541.

2.กระทรวงสาธารณสุข.   โครงการขยายเครือข่ายและเสริมศักยภาพหน่วยบริการสุขภาพใกล้   บ้านให้ทันสมัยได้มาตรฐาน  (Mega Project ปี 2553-2556) หรือ โครงการ    โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล.นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข;2552.

3.มนตรี  เทเวลา.   การพัฒนารูปแบบการจัดระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิภายใต้ความ

       พร้อมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม.มหาสารคาม :

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม; 2550.

4.โรงพยาบาลมหาสารคาม.   รายงานการใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาสารคาม.

           โรงพยาบาลมหาสารคาม;  2551.

5.ยงยุทธพงษ์สุภาพ .   เจาะลึก 1 A 4 C เป้าหมายที่จะไปให้ถึงของบริการปฐมภูมิ  

       โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการ.นนทบุรี  :  สำนักงานหลักประกัน     สุขภาพแห่งชาติ;2551.

6.สรชัย  พิศาลบุตร.   การศึกษาความพึงพอใจ.    กรุงเทพมหานคร  :  วิทยพัฒน์; 2548.

7.สุรสมกฤษณะจูฑะ.   "กระบวนทัศน์สิทธิสุขภาพ : ทบทวนและท้าทาย."  ใน  แนวคิดว่า        ด้วยสุขภาพและสิทธิมนุษยชน.    นนทบุรี  : กระทรวงสาธารณสุข;2550. 

8.สุวิทย์  วิบุลผลประเสริฐ.    ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย.นนทบุรี  :            กระทรวงสาธารณสุข;2550.

9.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.  รวมมติและข้อเสนอแนะจากสมัชชาสุขภาพ        แห่งชาติ.กรุงเทพมหานคร :  สหพัฒนไพศาล;  2551.

10.สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.  พระราชบัญญติสุขภาพแห่งชาติ  พ.ศ.  2550.  

       พิมพ์ครั้งที่ 6.    กรุงเทพมหานคร :  สหพัฒนไพศาล;2552.

11.สำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ.  สมัชชาสุขภาพระดับภาค/เฉพาะประเด็น.  นนทบุรี :                   สามดีพริ้นติ้งอีควิปเม้นท์;2545.

12.สำนักงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า.แผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือพัฒนาระบบบริการ

       ปฐมภูมิ 2550-2554.  กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการอำนวยการ  คณะกรรมการดำเนินงาน

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ;  2550.

13.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.    แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการ

        ปฐมภูมิ จังหวัดมหาสารคาม ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ  2551-2555).  

         มหาสารคาม : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม;2550.

14.ศรีประภา  เพชรมีสี.    รายงานวิจัยสิทธิในสุขภาพ  : จากเสรีนิยมสู่ชุมชนนิยมภายใต้      โครงการสังเคราะห์ความรู้ : สังคมไทยในการกระแสปฏิรูป.กรุงเทพมหานคร :    สถาบันวิจัยสาธารณสุข;2548.

15.Balint. M. The doctor,  his patient and the illness.   Pitman Medical : London; 1964.

16.Bodenheimer T Lo. B CasalinoL.Primary   care  physicians  should  be   

         coordinators,  not     gatekeepers.  JAMA1995 ; 281(22) : 2045 -49.

17.Gilbert D, Walley T,New B. Ufestyle  medicines.  BMJ 2000; 321 (7272) :

          1341-44.

18.United  Nations.    Popular Participation in Decision Making for

          Development. New  York  :  United  Nations  Publisher; 1975.

19.Vroom WH.    Work and  Motivation.  New York  :  John Willey and Sons,

            1964.

20.Yahn. G. The  impact of  holistic  medicine,  medical  groups,  and  health 

           concepts. JAMA 1979;242 (20) :2202 -5.