ผลของเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน

ผลของเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน
ดร.ทักษิณาร์ ไกรราช1 นางชินากร  มะลาศรี2  นางสาวิตรี  ทองปน3 
นางสุกัญญา  วัฒนประจิตร4  นางอริศรา  ศรฬสรรณ5 
นายจตุพร  ดีผาย6   นางสาวขวัญริสา เตียงชัย7
1,7วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
2,3โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน  ร้อยเอ็ด
4โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา  มหาสารคาม
5ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีสวัสดิ์  โรงพยาบาลมหาสารคาม
6โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนมันน้ำ  มหาสารคาม

บทคัดย่อ
 งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง ผลของเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเปลือกมังคุดแห้งผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน  และเพื่อศึกษาระยะเวลาการใช้เปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่มีแผลเรื้อรัง จำนวน 30  คน  พื้นที่ศึกษาคือชุมชนในเขตจังหวัดมหาสารคาม และในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และประเมินจากสภาพแผลขณะและภายหลังการทดลอง  ระยะเวลาศึกษาวิจัย รวม  5  ปี
การศึกษานี้ใช้วิธีการทำแผลคล้ายการทำแผลด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันโดยทั่วไป  ด้วยการเช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ และเช็ดทำความสะอาดภายในแผลด้วย Normal  Saline  แต่ต่างกันต่อจากนั้นนำผ้าก็อสหนึ่งแผ่นที่คลุกกับผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใส  วางแปะไปบนก็อสชิ้นแรกที่คลี่ออกครึ่งหนึ่งที่วางอยู่บนปากแผล แล้วปิดตามด้วยก็อสผืนอื่น ๆ ตามปกติ  ผลการศึกษาพบว่า ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสสามารถรักษาแผลเรื้อรังผู้ป่วยเบาหวานให้หายได้เร็วกว่าการทำแผลด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน  แต่พบว่า แผลบางลักษณะนั้นผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสไม่สามารถรักษาให้แผลเรื้อรังหายปิดสนิทได้  ดังเช่น  แผลที่มีก้นหลุมลึก เป็นโพรง ไม่มีเนื้อเยื่อด้านในมากพอที่จะเป็นฐานให้ผิวหนังดึงมาชิดติดกัน  และจากการศึกษาพบว่า ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสใช้ได้ดีกับลักษณะของแผลที่ตื้น ไม่เป็นหลุมลึก  หรือแผลที่มีการติดเชื้อ  หรือมีสารคัดหลั่ง โดยเฉพาะมีหนอง  มีกลิ่นเหม็นของแผล  หรือแผลที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อโดยรอบ  ผงเปลือกมังคุดสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว  เหตุผลเนื่องจากเปลือกมังคุดมีสารแทนนิน  ที่ช่วยดึงสมานผิวหนังของแผลให้ติดกันได้โดยเร็ว  และสารแมงโกสติน (Mangostin)  มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองมากถึง 7-14 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ยังมีสารแซนโทน ช่วยต่อสู้กับการอักเสบบริเวณต่างๆ ของร่างกาย   อีกทั้งน้ำปูนใสช่วยให้เซลของพืชแตกตัวได้ดีขึ้นช่วยทำปฏิกิริยาให้ผงเปลือกมังคุดมีประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีขึ้น ระยะเวลาในการรักษาแผลเรื้อรัง  ใช้เวลา 12 -45 วัน  ตามแต่ละชนิดของแผล
คำสำคัญ  ผงเปลือกมังคุด  น้ำปูนใส  แผลเรื้อรัง  ผู้สูงอายุ
Abstract
 The experimental research, "A Result of Limewater-Mixed Mangosteen Peel for Curing the Diabetes Elderly Patient's Chronic Wound" had the main purposes to study the limewater-mixed mangosteen peel for curing the diabetes Elderly patient's chronic wound and to study a period of the limewater-mixed mangosteen peel for curing the chronic wound. The sample was 30 Elderly people who had got the chronic wound at comminutes in Sarakham and Roi-et provinces. The statistics for the quantitative data analysis was percentage and mean. The qualitative data was analyzed in the content analysis and it was assessed from a picture of the chronic wound before and after the experiment. The period of this research was five years.
 This study dealt with a way of wound dressing like that in the conventional medicine by cleaning a place around the chronic wound with alcohol and cleaning the wound with normal saline. The difference was that powder of the limewater-mixed mangosteen peel was placed on a half strip of gauze, covered with another strip of gauze, put on the wound, and covered with the other strip of gauze around wound.
 A result of this study was found that the power of the limewater-mixed mangosteen peel could be used to cure the diabetes patient's chronic wound faster than the wound dressing in the conventional medicine. Some wound could not be cured with the powder the limewater-mixed mangosteen peel such as the wound that had a sink hole and a cavity without tissue to connect the skin around the
…………………………………………………………………………………………………………………………………….
Sri Maha Sarakham Nursing College1,7
Chaturaphakb Phiman  Hospital 2,3
Khoau Tambon Health Promoting Hospital 4
Srisawad Community Health Center5
Donmonnam Tambon Health Promoting Hospital 6
wound. After this study, it was found that the power of the limewater-mixed mangosteen peel was very useful for the glenoid wound without the septic wound, excretion, especially pus and bad smell of the wound, or ulcer. The power of the mangosteen peel could cure the wound fast because it had tannin to connect the skin around the wound fast and mangostin to protect the wound from bacteria causing the pus about 7-14 percents. Moreover, it had xanthenes to fight against inflammation in all parts of a body. A period of curing the chronic wound was 12-45 days according to various types of the wound.   
Key  words :  Mangosteen Peel,  Limewater, Chronic Wound, Elderly
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วแตกต่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เห็นได้จากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มจากร้อยละ 4.8 ในปี พ.ศ.2498 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
5.6 ใน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ร้อยละ 7.6  ใน ปี พ.ศ. 2538 ร้อยละ 9.3  ใน ปี พ.ศ. 2543 ร้อยละ  12.7 ใน ปี พ.ศ. 2555 และร้อยละ 15.30 ใน ปี พ.ศ. 2557  ตามปกติเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ว่าสังคมใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ถือว่าสังคมนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging  society)  จากข้อมูลสถิติประชากรของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging  society)  ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  (aged  society)  ในปี พ.ศ. 2570 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557)
ปัจจุบันผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วแตกต่างจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต เห็นได้จากสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มจากร้อยละ 4.8 ในปี พ.ศ.2498 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ
5.6 ใน ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ร้อยละ 7.6  ใน ปี พ.ศ. 2538 ร้อยละ 9.3  ใน ปี พ.ศ. 2543 ร้อยละ  12.7 ใน ปี พ.ศ. 2555 และร้อยละ 15.30 ใน ปี พ.ศ. 2557  ตามปกติเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติกำหนดไว้ว่าสังคมใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ถือว่าสังคมนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging  society)  จากข้อมูลสถิติประชากรของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging  society)  ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 และจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์  (aged  society)  ในปี พ.ศ. 2570 (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557)
จากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ การพยาบาลและสาธารณสุขทำให้อัตราการตายด้วยโรคติดเชื้อเกือบหมดไป มีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น และมีอายุยืนยาวขึ้นพบว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคไร้เชื้อเพิ่มมากขึ้นและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของกลุ่มโรคเรื้อรัง ได้แก่  โรความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน  โรคไขมันในหลอดเลือด  โรคไต  โรคมะเร็ง  และอื่นๆ (ศิริพันธุ์  สาสัตย์, 2551) รวมถึงอาการต่างๆ ของผู้สูงอายุที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายและจิตใจ  โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังหลายโรค 
 โรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากในผู้สูงอายุ  ดังเช่นรายงานข้อมูลสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข (2554) พบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี  และความชุกของโรคเบาหวานได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนอายุ  โดยพบอัตราความชุกในผู้สูงอายุของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 13-15.3  
จากรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานของจังหวัดมหาสารคาม  ปี พ.ศ. 2554  พบโรคเบาหวานมีจำนวนมากเป็นอันดับหนึ่งของประเภทของโรคเรื้อรังทั้งหมด  เมื่อจำแนกเป็นกลุ่มอายุ  พบกลุ่มอายุ 60 ปี  ขึ้นไป หรือกลุ่มผู้สูงอายุมีจำนวนมากที่สุด  และพบผู้สูงอายุเบาหวานเหล่านี้มีภาวะแทรกซ้อนต้องตัดอวัยวะส่วนปลาย  ได้แก่  นิ้วเท้า  ขา  จำนวนกว่า 200  ราย  (รายงานผู้ป่วยโรคเบาหวาน  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2555)  ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีความรุนแรงเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวมีให้พบเห็นอยู่ทั่วไปในสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดมหาสารคาม  
 การสูญเสียอวัยวะส่วนปลายของผู้ป่วยเบาหวานนั้น เนื่องมาจากปัจจุบันการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาแผลเหล่านี้ได้ทั้งหมด  และส่วนใหญ่กลายเป็นแผลเรื้อรังนานแรมปี  เกิดเนื้อตายที่ลุกลามขนาดใหญ่และในที่สุดต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นเพื่อการรักษาไว้ซึ่งชีวิต  ผู้วิจัยและทีมงานจึงพยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์โบราณพบว่าเปลือกมังคุดมีสรรพคุณบางอย่างที่สามารถรักษาแผลได้  แต่ยังไม่มีนักวิชาการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้เปลือกมังคุดรักษาแผลเรื้อรังในเชิงลึกนัก  อีกทั้งผลมังคุดออกผลเพียงบางฤดูกาล  ไม่สามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี  ผู้วิจัยจึงสนใจทดลองศึกษาการใช้ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน  เนื่องจากผู้ที่เป็นแผลเรื้อรังส่วนใหญ่คือผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
วัตถุประสงค์การวิจัย
 1. เพื่อศึกษาผลของผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน
 2. เพื่อศึกษาระยะเวลาการใช้เปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน
วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเปลือกมังคุดรักษาแผลเรื้อรังผู้ป่วยเบาหวาน  และเพื่อศึกษาระยะเวลาในการใช้เปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน     โดยใช้การติดตามรายกรณีศึกษาขณะทำการรักษา ระยะเวลาในการศึกษาใช้เวลาศึกษาตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 –  ธันวาคม  2557  โดยมีรายละเอียดในการดำเนินการดังนี้

ผู้ให้ข้อมูลหลัก
ผู้ให้ข้อมูลหลัก  เป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานจังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มีแผลเรื้อรังตามร่างกาย  หรือตามอวัยวะส่วนปลาย จำนวน  30  คน
การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก 
ในการวิจัยนี้ การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก  ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยมีเกณฑ์คุณสมบัติในการเลือกดังนี้
 1. เป็นผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในจังหวัดมหาสารคาม  และจังหวัดร้อยเอ็ด
 2.   มีแผลเรื้อรังตามร่างกาย  หรือที่อวัยวะส่วนปลาย  ซึ่งรักษามานานกว่า 3 เดือน
 3. เป็นบุคคลที่ยินยอมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการวิจัย
 ผู้วิจัยเลือกพื้นที่ศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Selection) เช่นกัน  โดยศึกษาในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม  และจังหวัดร้อยเอ็ด โดยผู้วิจัยเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักจากแหล่งบริการสุขภาพและในชุมชน ที่ผู้วิจัยและทีมงานออกปฏิบัติงาน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล  4 วิธีด้วยกัน คือ    
1. การวิจัยเอกสาร  (Documentary  Research) โดยการศึกษาข้อมูลเอกสารเพื่อให้ได้ข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่  เอกสารทางวิชาการ  เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. การสัมภาษณ์  โดยผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการประเด็นข้อมูลทั่วไป  ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
3.การสังเกต (Observation) โดยการสังเกตสีหน้า  กิริยา  ท่าทาง น้ำเสียง ของผู้สูงอายุเบาหวานที่มีแผลเรื้อรัง
4. การประเมินผลการรักษาแผล โดยใช้แบบประเมินผลแผลเรื้อรังขณะรักษาด้วยผงเปลือกมังคุดผสมนำปูนใส
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
 เครื่องมือวิจัยที่ใช้ครั้งนี้  ประกอบด้วย
1.แบบสัมภาษณ์  ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับเบาหวาน  และข้อมูลเกี่ยวกับแผลเรื้อรัง
2.แบบสังเกตเพื่อประเมินผลการรักษาแผลเรื้อรัง
  การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเองจากศึกษาเอกสารวิชาการ โดยตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยการตรวจสอบความถูกต้องตามเนื้อหา  โดยผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3  ท่าน  ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมเนื้อหา หลังจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขสำนวนเนื้อหาให้ถูกต้องครอบคลุม  
 ขั้นตอนการวิจัย
 ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยมีขั้นตอนการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1.สำรวจภาคสนามเพื่อเลือกพื้นที่ศึกษา
2.การเตรียมตัวก่อนลงเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่วิจัย โดยผู้วิจัยทำการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พร้อมเตรียมวัตถุดิบในการทำแผลเรื้อรัง  ได้แก่  ผงเปลือกมังคุด  น้ำปูนใส  ชุดทำแผล  และอื่น ๆ
วิธีการทำผงเปลือกมังคุดกับน้ำปูนใส
ผ่าครึ่งลูกมังคุดสดออกเป็นสองซีก  รับประทานเนื้อมังคุด  แล้วดึงหัวขั้วมังคุดออก  ต่อจากนั้นภายใน 24 ชั่วโมง  นำเปลือกมังคุดดังกล่าวหั่นเป็นเส้นเล็ก ๆ  บาง ๆ   นำไปตากแดด 2 ครั้ง และอบด้วยความร้อน 1  ครั้ง  เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราที่เปลือก  ต่อจากนั้นนำไปบดเป็นผงละเอียด  (สามารถนำไปรับบริการบดที่ร้านขายยาโบราณได้)  แล้วนำผงเปลือกมังคุดใส่ขวดสะอาดไว้  เมื่อสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ใดเกิดแผลตามร่างกาย  ให้นำปูนเคี้ยวหมากสีขาวจำนวน 1/2  ช้อนชา  ใส่ลงในถ้วยสะอาด  เติมน้ำต้มสุกลงไปประมาณ  300  ซีซี  รอจนเนื้อปูนตกตะกอน  จึงตักน้ำปูนใสผสมลงในเนื้อผงเปลือกมังคุดที่เตรียมใส่ภาชนะสะอาดไว้ประมาณ 1 ช้อนชา  ปริมาณของน้ำปูนใสกะตามตามขนาดของแผล  คนให้เข้ากัน  ให้ได้ส่วนผสมที่มีลักษณะเหนียวเกาะตัวกันได้  ไม่เหลวจนตัวยาไหลเยิ้มออกจากผ้าก็อสเลอะผิวหนัง   
3.การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม  เป็นเวลา  5 ปี
4.การเขียนหลังการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในช่วงนี้ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามนำมาเขียนเป็นรายงานวิจัยแต่ละบทเพื่อตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผังการศึกษาวิจัย

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล
 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ และค่าเฉลี่ย  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต  และการประเมินผลการรักษาแผลเรื้อรังด้วยผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใส  โดยแบ่งเนื้อหาแต่ละบทตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย  นำข้อมูลมาอธิบาย
ข้อกำหนดของการวิจัย
 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลองกับมนุษย์  จึงได้ทำการขออนุญาตและได้รับคำยินยอมจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก  และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยของหน่วยงาน  และได้รับการอนุมัติจึงจะดำเนินการได้
ผลการวิจัย
ผลจากการศึกษาวิจัยเรื่อง ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน ในผู้สูงอายุเบาหวานมีแผลเรื้อรัง  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน  30  ราย  ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด  การรักษาแผลของงานวิจัยนี้ใช้หลัก Sterile Techniqe  เหมือนการทำแผลด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบันโดยทั่วไป โดยเริ่มต้นด้วยการเช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ และสำหรับแผลเปียก  ทำการเช็ดทำความสะอาดภายในแผลด้วย Normal  Saline  แต่สำหรับการศึกษาวิจัยนี้  เริ่มด้วยการเช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์  หรือกรณีแผลเปียกเช็ดภายในแผลด้วย Normal  Saline เช่นเดียวกัน  แต่ตามมาด้วยการใช้ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสปิดบนปากแผล  โดยมีกรรมวิธีคือนำแผ่นผ้าก็อสหนึ่งผืนมาคลุกกับผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสในถาดทำแผลที่เตรียมไว้   โดยผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใส  เตรียมโดยการนำผงเปลือกมังคุดปริมาณ 1 ใน 2 ช้อนชา ผสมกับ น้ำปูนใส  ที่ได้จากการนำปูนเคี้ยวหมาก ในปริมาณ ครึ่งช้อนชา  ผสมกับน้ำ 300 cc ตั้งไว้จนแป้งตกตะกอน  แล้วจึงนำน้ำปูนใสมาใช้ผสมกับผงเปลือกมังคุด  แต่ก่อนวางแผ่นผ้าก็อสคลุกผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสไว้บนปากแผล  ให้นำก็อสหนึ่งชิ้นคลี่ออกครึ่งหนึ่ง  เหลือชั้นผ้าก็อสบาง ๆ วางบนปากแผล แล้วจึงนำผ้าก็อสชิ้นที่คลุกกับผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสมาวางแปะข้างบน  ต่อจากนั้นจึงนำก็อสอีกข้างมาปิดทับตามมา  และตามด้วยก็อสแผ่นอื่น ๆ ตามจำนวนที่เหมาะสมกับขนาดของแผล  ผลการวิจัยพบว่า  ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสสามารถรักษาแผลเรื้อรังผู้ป่วยเบาหวานให้หายได้เร็วกว่าการรักษาแผลด้วยวิธีการทางแพทย์แผนปัจจุบัน 
สำหรับกรณีแผลเรื้อรังที่มีการอักเสบ มีการติดเชื้อและมีสารคัดหลังอยู่ภายใน  บางรายอาจมีหนอง หรือมีกลิ่นเหม็น  และมีก้นหลุมแผลลึก  การนำผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสมาแปะปิดปากแผลทันที  ยังไม่อาจทำได้  ผู้วิจัยจึงประยุกต์การรักษาแผลด้วยการนำผงเปลือกมังคุดปริมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา ผสมกับ Normal  Saline  คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน  เช็ดภายในหลุมแผลลึกก่อน  เพื่อให้ผงเปลือกมังคุดยับยั้งการติดเชื้อ และกำจัดสารคัดหลั่งที่มีกลิ่นเหม็น หรือที่มีการติดเชื้อ  ผลการศึกษาพบว่า  การกระทำดังกล่าวสามารถช่วยลดสารคัดหลั่งหรือการติดเชื้อภายในแผล  และดับกลิ่นแผลดังกล่าวได้ภายในไม่เกิน 3 วัน  สำหรับกรณีศึกษารายที่แผลมีลักษณะเป็นโพรงในสะโพก  ไม่มีทางเปิดของแผลเหมือนแผลอื่น ๆ ทั่วไป  มีเพียงรูเข็มเล็กๆ ขนาดหัวเข็ม เบอร์ 20  เป็นทางเปิดจากข้างนอกสู่ภายใน  และมีสารคัดหลั่งเป็นหนองไหลออกมาเสมอ  กรณีเช่นนี้ผู้วิจัยทำการประยุกต์วิธีรักษาด้วยการนำผงเปลือกมังคุดปริมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา ผสมกับ Normal  Saline  หรือน้ำเกลือทำแผล ใช้ Syringe หรือเข็มฉีดยาขนาด 10 cc  ดูดตัวยาที่ผสมระหว่างผงเปลือกมังคุดกับ Normal  Saline ฉีดดันเบาๆ ล้างเข้าไปในโพรงสะโพก  ล้างจนสีน้ำนั้นจางใส  แล้วนำ  Gauze drain หรือผ้าก็อสเส้นเรียวยาว  มาคลุกกับผงเปลือกมังคุดปริมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา ผสมกับน้ำปูนใส  ใส่เข้าไปภายในแผลในโพรงสะโพก  ทำแผลวันละครั้ง  หลังจากทำแผลได้หนึ่งวัน  พบว่าวันที่สองถัดมา  มีหนองสีเหลืองข้น  ปริมาณ 50 cc ไหลดันออกมาจากรูปากแผล  ทั้ง ๆ ที่ ที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 2 ปี  มีเพียงสารคัดหลั่งสีขาวจางผสมสีเยื่อเหลืองๆ จำนวนเล็กน้อย ที่ไหลซึมออกมาในแต่ละวัน
จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน  สามารถช่วยให้แผลเรื้อรังหายได้เร็วขึ้น โดยเฉพาะแผลที่มีลักษณะตื้น ไม่มีความลึกมากนัก  ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสจะช่วยให้ปากแผลสมานปิดกันได้เร็วกว่าทำแผลตามปกติของการแพทย์แผนปัจจุบัน  โดยแผลลักษณะนี้มักหายภายในไม่เกิน 3 สัปดาห์ หรือประมาณ 21 วัน  เหตุเนื่องจากสารแทนนินมีสรรพคุณช่วยสมานผิวหนังปากแผลให้ดึงมาติดกันได้โดยง่าย  ส่วนกรณีที่แผลที่มีหนอง  มีสารคัดหลั่งออกอยู่ภายในก้นหลุมแผล  และโดยเฉพาะที่มีกลิ่นเหม็น  ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสสามารถดึงหนองหรือสารคัดหลั่งภายในแผลขับออกมาได้โดยง่าย  และลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ของแผลภายใน 2-3 วัน  ส่งผลให้ลดการอักเสบของแผลและผิวหนังโดยรอบ 
          แต่ในทางตรงกันข้ามพบว่า ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวานไม่สามารถรักษาแผลเรื้อรังบางลักษณะให้หายปิดสนิทได้  จากการศึกษาพบว่า  ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสมีข้อจำกัดในการรักษาแผลที่มีลักษณะก้อนหลุมใหญ่  และลึก  แผลเป็นโพรง กลวง  ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสไม่สามารถดึงผิวหนังด้านบนโดยรอบปากแผลมาปิดให้สนิทกันได้  เนื่องจากขาดเนื้อเยื่อด้านในข้างบนมาเป็นฐานในการดึงปิดปากแผลให้สนิทกัน  จึงสามารถผลการศึกษาได้ว่า การใช้ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลนั้นไม่สามารถใช้ได้กับทุกลักษณะของแผล การใช้ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสเหมาะเฉพาะกับแผลเรื้อรังที่ตื้น  ไม่เป็นหลุมลึก  หรือเหมาะกับแผลเรื้อรังที่มีเนื้อแผลภายในมีมากพอที่จะสามารถดึงผิวหนังโดยรอบมาปิดสมานปากแผลได้  และที่สำคัญเหมาะอย่างยิ่งกับแผลเรื้อรังที่มีการติดเชื้อ  มีหนองภายใน รวมถึงมีกลิ่นเหม็น  แผลเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการทำแผลเรื้อรัง ตั้งแต่ 12 – 45 วัน  มีค่าเฉลี่ย 27 วัน
อภิปรายผล
จากผลการศึกษางานวิจัยเรื่อง ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนรักษาแผลเรื้อรังผู้สูงอายุเบาหวาน พบว่าผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสสามารถรักษาแผลเรื้อรังได้  โดยเฉพาะลักษณะแผลที่มีการติดเชื้อ มีสารคัดหลั่ง  มีหนองจนมีกลิ่นเหม็น  เหตุผลเนื่องจากสารสกัดเปลือกมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเกิดหนอง คือ Staphylococcus aureus
(S. aureus)  โดยเปลือกมังคุดมีสารแมงโกสติน (Mangostin) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองมากถึง 7-14 เปอร์เซ็นต์   (http://secreta.doae.go.th)  การที่สารแมงโกสติน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่  ยังพบว่าเปลือกมังคุดสามารถทำลายเชื้อสแตปฟิย์โลคอคคัส ออเรียส, บาซิลลัส สับทิลิส ,ซาโมเนลล่า ทัยโฟสา  (Salmonella typhosa) ชิคเจลลา ซอนนีไอ(shigella sonnei) เอสเซอริเซีย โคไล  อีกทั้งสารประกอบประเภทแซนโทนส์  (xanthones) ซึ่งมีสารธรรมชาติ 5 สาร สารหลักคือแมงโกติน(mangostin)และอนุพันธ์ของสารนี้แสดงฤทธิ์ในการต่อต้านสแตปฟิย์โลคอคคัส ออเรียส ได้ดี ทั้งสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลินและสายพันธ์ที่ไม่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน โดยสารแมงโกตินมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้ดีที่สุดและให้ค่า MIC,(Minimal Inhibitory Concentration) ใกล้เคียงกับเมทธิซิลิน ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาโรคเกิดจากแบคทีเรียสแตปฟิย์โลคอคคัส ออเรียส ที่ดื้อยาเพนนิซิลินอื่น ๆ ในด้านการทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อรา ซึ่งแมงโกตินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราทริโคฟัยตอน เมนทาโกรไฟท์และไมโครสปอรัม จิบเซียมส์(Microsporum gypseums) ได้                     
          นอกจากนี้  สารแซนโทนในมังคุดมีประโยชน์ในการช่วยต่อสู้กับการอักเสบโดยยับยั้งการแพร่ของเอนไซม์ COX-2 เอนไซม์ Cyclo-ozygenase (COX) มีอยู่สองตัว ได้แก่ COX-1 และ COX-2 มี
หน้าที่ต่างกันคือ COX-1 เป็นเอนไซม์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในการทำงานของเซลต่างๆ ส่วน COX-2 เป็นเอนไซม์ที่จะทำงานเมื่อมีการอักเสบบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ฉะนั้นการยับยั้งการแพร่ของเอนไซม์ COX-2 ของมังคุดสามารถช่วยลดการอักเสบได้  ซึ่งสารสกัดจากเปลือกมังคุด ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีเป็น 3 เท่า ของแอสไพริน โดยไม่มีผลกดภูมิคุ้มกัน และยังพบว่าสารสกัดของเปลือกมังคุดยับยั้งการหลั่งของฮิสตามีน และยับยั้งการสร้างพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin E2 ) ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อมีอาการอักเสบ  ดังนั้นเปลือกมังคุดจึงมีคุณสมบัติใช้ในการรักษาแผล มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ แผลติดเชื้ออักเสบ แผลพุพอง แผลเน่าเปื่อย แผลพุพอง แผลเน่าเปื่อย  จึงสรุปได้ว่าสารแซนโทนที่สกัดจากมังคุด สามารถหยุดการเจริญเติมโตของเชื้อแบคทีเรียได้ สอดรับกับงานวิจัยที่พบว่า อาการผิวเสียต่างๆ เช่นโรคผิวหนังอักเสบ ผิวเปื่อย พุพอง สิว โรคเรื้อน ผื่นแดง เปลือกในมังคุดสามารถรักษาโรคได้ดีกว่าการใช้ยาสเตอรอยด์ และครีมต่างๆ  จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ยังสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถรักษาโรคผิวหนังได้โดยไม่มีอาการแพ้หรืออาการข้างเคียงอื่นๆ  นอกจากนี้เปลือกมังคุดมีสารแทนนิน ที่มีตัวยาฝาดสมาน  ผิวปากแผลให้ติดกัน จึงมีผลทำให้สามารถใช้รักษาทั้งแผลเรื้อรัง ช่วยให้แผลเรื้อรังหายเร็วยิ่งขึ้น  นอกจากนี้การนำน้ำปูนใสมาผสมผงเปลือกมังคุดนั้น  น้ำปูนใสมีสรรพคุณช่วยให้เซลล์ของพืชหรือสิ่งมีชีวิตสลายแตกตัวทำปฏิกิริยากับสารต่าง ๆได้ดีมากขึ้น  จึงช่วยให้แผลเรื้อรังหายได้ยิ่งเร็วขึ้น 
ข้อเสนอแนะ
1.ศึกษานวัตกรรมยาทาสมุนไพรที่เหมาะกับการนำมาใช้กับแผลที่มีลักษณะใหญ่และลึก
2.ศึกษานวัตกรรมยาสมุนไพรรับประทานที่ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงแผลได้มากขึ้น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
3.ศึกษาเปรียบเทียบการใช้ผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสกับการใช้น้ำผึ้งรักษาแผลเรื้อรัง

กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน  จังหวัดร้อยเอ็ด  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา อำเภอเมือง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนมันน้ำ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม  รวมถึงศูนย์สุขภาพชุมชนศรีสวัสดิ์ เครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม
ที่เข้าร่วมเป็นทีมวิจัยนำผงเปลือกมังคุดผสมน้ำปูนใสรักษาแผลเรื้อรังผู้ป่วยเบาหวานที่ขอเข้าร่วมโครงการ และขอขอบคุณผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลเรื้อรัง ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน ที่ให้ความไว้วางใจในการทำการรักษาด้วยผงเปลือกมังคุด
เอกสารอ้างอิง
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี.    แผน 
           ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564).    กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์คุรุสภา.     2545.
จารุวรรณ  ธรรมวัตร. (2538)   “ภูมิปัญญาอีสานกับการพัฒนาชุมชน,”  ใน  วิเคราะห์ภูมิ
ปัญญาอีสาน.    พิมพ์ครั้งที่ 3.   มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   
           มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.   
จิตรลดา  ชมบุญ. (2549)  ปลูกและใช้สมุนไพรใกล้ตัว.   กรุงเทพฯ  :   ไพลิน.
ดุษฎี มงคล และอุไรวรรณ ปรีถวิล. (2555) การศึกษาเรื่องประสิทธิผลของการล้างแผลผู้ป่วย
           เบาหวานที่เป็นแผลเรื้อรังด้วยน้ำต้มสารสกัดสมุนไพรจากเปลือกมังคุด. โรงพยาบาลคำม่วง
           จังหวัดกาฬสินธุ์.
นันทวัน บุณยะประภัศร. (2542). สมุนไพรไม้พื้นบ้าน (3) พิมพ์ครั้งแรก บริษัทประชาชนจำกัด
 กรุงเทพมหานคร หน้า 740-745
ศิริพันธุ์  สาสัตย์. (2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการ
           ดูแล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). รายงานข้อมูลประชากรประเทศไทย
            ประจำปี 2557, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุพัฒน์ คำไทย  กิตติกุล อุงคเนติวัติ  วีรบูรณ์ คิดกิ่ง.(2554) การเติมสารสกัดจากผงเปลือกมังคุดใน
           ฟิล์มคาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลสเพื่อควบคุมเชื้อแอนแทรกโนส. วิทยาศาสตร์เกษตร. 2554;   
           42 : 1 (พิเศษ) : 583-586.
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3. (8 กรกฎาคม 2557). เจาะข่าวเด่น โดย สรยุทธ สุทัศนะจินดา. ค้น
           เมื่อ 5 เมษายน 2558, จาก http://morning-news.bectero.com
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม  มหาวิทยาลัยมหิดล  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ 
           สร้างเสริมสุขภาพ (2550).   สุขภาพคนไทย 2550.  กรุงเทพฯ  :  อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิง.  
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จังหวัดมหาสารคาม.  โปรแกรมผู้ด้อยโอกาส  
          ทางสังคมและการช่วยเหลือแก่บุคลากรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551)  เอกสารคู่มือ
          ประกอบการประชุมอบรม.    มหาสารคาม  :  สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของ
          มนุษย์  จังหวัดมหาสารคาม.  
สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2554). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพ
          ผู้สูงอายุสำหรับบุคลากรสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (2556), คู่มือแนวทางการอบรม
          ผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2557). รายงานประชากรกลางปี 2557.  ค้นเมื่อ 28
          มกราคม 2557, จาก http://mkho.moph.go.th
Asai, F., Tosa, H., Tanaka, T. and Iinuma, M. (1995). A xanthone from pericarps
          of Garcinia mangostana, Phytochemistry 39(4): 943-944.
Chairungsrilerd, N., Takeuchi, K., Ohizumi, Y., Nozoe, S. and Ohta, T. (1996).
Mangostanol, a prenyl xanthone from Garcinia mangostana,
Phytochemistry 43(5): 1099-1102.
Moongkarndi, P., Kosem, N., Kaslungka, S., Luanratana, O., Pongpan, N. and
Neungton, N. (2004). Antiproliferation, antioxidation and induction of
apoptosis by Garcinia mangostana (mangosteen) on SKBR3 human
breast cancer cell line, J. Ethnopharmacology 90: 161-166.
Nakatani, K., Nakahata, N., Arakawa, T., Yasuda, H. and Ohizumi, Y. (2002).
Inhibition of cyclooxygenase and prostaglandin E2 synthesis by
mangostin, a xanthone derivative in mangosteen, in C6 rat glioma
cells, Biochemical Pharmacology 63: 73-79.
https://www.gotoknow.org/posts/440804 ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2557
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1402915404
http://www.chula.ac.th/th/archive/8978, ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557
http://www.wonderful.in.th
http://www.ptu.ac.th/ptueeit/detail.php?EE_ID=17
http://www.phtnet.org/research/view-abstract.asp?research_id=mi138 ค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2557
http://se-ed.net/thaieducate/7fruit8.html